5 วิธีการออกแบบ “แพคเกจจิ้ง” ให้เป็นมากกว่าแพคเกจจิ้ง

แพกเกจจิ้งออกแบบ
11 May 2020
แบ่งปันข้อความนี้
facebook
copylink
5 วิธีการออกแบบ “แพคเกจจิ้ง” ให้เป็นมากกว่าแพคเกจจิ้ง
จะดีแค่ไหน ถ้าเราสามารถออกแบบแพคเกจจิ้งให้มีประโยชน์และเป็นมากกว่าแพคเกจจิ้งได้

แม้ว่าหน้าที่หลักของแพคเกจจิ้งคือการปกป้องสินค้า แต่ว่าในอีกแง่มุมคือการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและประสบการณ์ที่ลูกค้าสัมผัสได้ให้กับแบรนด์ของเรา

วันนี้เราจะมานำเสนอ 5 แนวคิดวิธีการออกแบบแพคเกจจิ้งให้เป็นได้มากกว่าการปกป้องสินค้า แต่ยังเป็นมากกว่าแพคเกจจิ้ง ทั้งในแง่ประโยชน์ใช้สอยที่มากขึ้น และการรักษาสิ่งแวดล้อม พร้อมตัวอย่างไอเดียดีๆจากแบรนด์ที่ออกแบบแพคเกจจิ้งได้อย่างสร้างสรรค์


1. Less is More

น้อยแต่มาก แนวคิดจากออกแบบสินค้าที่ใช้วัสดุในการทำแพคเกจจิ้งให้น้อยลง แต่เพิ่มประโยชน์การใช้สอยให้มากขึ้น เป็นแนวคิดง่ายๆ ที่เน้นการใช้ความคิดสร้างสรรค์และความใส่ใจลูกค้ามากขึ้น

ตัวอย่างเช่น allbirds shoes

Brand รองเท้าที่ออกแบบกล่องรองเท้าภายใต้แนวคิด from store to home เป็นกล่องที่วางในร้านก็ได้ วางในบ้านก็ดี เพราะโดยตามพฤติกรรมคนส่วนใหญ่เวลาซื้อรองเท้ามักจะมีกล่องรองเท้าที่ได้มาตอนซื้อ และมีกล่องพลาสติกสำหรับเก็บรองเท้าในบ้าน ยิ่งสั่งซื้อออนไลน์เราก็จะได้กล่องไปรษณีย์ ที่ใส่กล้องรองเท้าของเราอีกทีด้วย
blogphoto

ALLBIRDS SHOES มีการออกแบบกล่องใส่รองเท้าที่จบครบในกล่องเดียวไปเลย มีทั้งความทนทานสามารถเป็นกล่องพัสดุในตัวได้เลย และยังสามารถวางในบ้านแล้วหยิบรองเท้าออกมาใส่ได้อย่างสะดวก และประหยัดเนื้อที่ เรียกได้ว่า LESS IS MORE ที่ลดความจัดจ้านของ แพคเกจจิ้ง ให้น้อยลง แต่เพิ่มประโยชน์ใช้สอยได้มากขึ้นอย่างทวีคูณเลยทีเดียว

2. Designing the best garbage

ถึงแม้ว่าจะหมดหน้าที่ของแพคเกจจิ้งแล้วจะต้องกลายเป็นขยะ แต่อย่างน้อยก็ต้องเป็นขยะที่ดี ขยะที่ดีในที่นี่หมายถึง ขยะที่ไม่ทำลายธรรมชาติหรือสภาวะแวดล้อมต่างๆบนโลกใบนี้ เป็นแนวคิดที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อเพื่อนร่วมโลกทุกชีวิต

ยกตัวอย่างเช่น Pangea organics

brands สบู่ที่ภาพลักษณ์ของแบรนด์เป็นสบู่ออแกนนิคจากธรรมชาติ ด้วยการออกแบบแพคเกจจิ้งที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ โดยใส่เมล็ดพันธุ์เล็กๆไว้ในแพคเกจจิ้ง พร้อมกระดาษที่ย่อยสลายได้ เพื่อที่เวลาเรานำสบู่ออกมาใช้แล้ว ก็สามารถฝังแพคเกจจิ้งลงไปในดินปลูกเป็นต้นไม้ได้อีกด้วย
blogphoto

3. ONE MAN’S TRASH IS ANOTHER MAN’S LUXE RUM BOTTLE

ขยะของเขา คือ แพคเกจจิ้ง ของเรา การนำวัสดุเหลือใช้จากแบรนด์อื่นมาผลิตใหม่เพื่อให้กลายเป็นแพคเกจจิ้งของเรา ถือว่าเป็นแนวคิดการรีไซเคิลที่น่าสนใจมากๆ เพราะสิ่งที่ไม่มีค่าแล้วของบางคนอาจมีค่าสำหรับคนอื่นอยู่

ยกตัวอย่างเช่น Fitzroy

brand ผลิตเหล้ารัมที่ออกแบบผลิตภัณฑ์ขวดใส่เหล้ารัมของตัวเองด้วยการ reuse/RECYCLE เช่น จุกฝาปิดขวดนั้นทำมาจากฉลากพลาสติกบนขวด Coca-cola ที่นำมาหลอมละลายลงบล็อกใหม่จนกลายเป็นฝาขวดเหล้าดีไซน์เก๋ๆแบบนี้ ตัวแก้วของขวดก็ทำมาจากแก้วรีไซเคิล และแบรนด์ก็ยังมีนโยบายให้ refill เหล้าในขวดเดิมด้วยราคาที่ถูกลงอีกด้วย
blogphoto

blogphoto

4. INNOVATIVE MATERIAL CHOICES

สร้างนวัตกรรมวัสดุใหม่ คือการแสดงถึงความก้าวหน้าของแบรนด์ไปอีกขั้น ด้วยการคิดค้นนวัตกรรมวัสดุสำหรับแพคเกจจิ้ง ใหม่ซะเลย

ยกตัวอย่างเช่น Ecovative โรงงานที่ผลิตกล่องใส่ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีเนื้อคล้ายโฟม แต่เชื่อหรือไม่ว่ามันผลิตมาจากจุลินซีย์ทางชีวภาพที่อัดแน่นจนกลายเป็นของแข็ง โดยที่มีความแข็งแรงและทนทานสุดๆ

อีกหนึ่งตัวอย่างคือ Watersphere ลูกบอลน้ำที่เราสามารถหยิบแล้วกินได้เป็นคำๆทั้งหมด เพราะตัวที่หุ้มน้ำอยู่คือสาหร่ายชนิดนึงที่ทานได้และไม่มีรสชาติ เป็นแพคเกจจิ้งที่กินได้ไปพร้อมๆกับน้ำเลย
blogphoto

5. REUSE, REFILL, OR SHARE

แน่นอนว่ามีแบรนด์จำนวนมากมายที่หันมาเริ่มใช้วิธี REFILL สินค้าของตัวเองโดยใช้แพคเกจจิ้งเดิมได้ แต่ละแบรนด์จะมีวิธี REFILL, REUSE สุดสร้างสรรค์อย่างไรขึ้นอยู่กับตัวแบรนด์เอง

ไอเดียของเครื่องสำอางยี่ห้อ Kjaer Weis ที่มาพร้อมกับการที่เราสามารถ REFILL แป้ง ลิปติก หรือ eyeshadow ได้เหมือนที่ใครๆก็ทำกัน แต่ทีเด็ดอยู่ตรงที่แบรนด์ Kjaer Weis กลับเข้าใจผู้หญิง ว่าน้อยคนนักที่จะใช้ ลิปติก แป้ง เครื่องสำอางตัวเองจนหมดแล้วมา REFILL

Kjaer Weis เลยจัดให้ผู้หญิงที่ซื้อเครื่องสำอางของตนสามารถมา REFILL ของตัวเองได้โดยที่ไม่ต้องรอให้ของเดิมหมด และถ้ามีสีใหม่ออกมาคุณก็แค่เอาสีเก่ามาแลกก็จะได้สีใหม่ไปเลยยย

ทั้ง 5 ข้อนับว่าเป็นไอเดียน่าสนใจที่คุณสามารถนำแนวคิดมาปรับใช้กับแพคเกจจิ้งของคุณได้ ถ้าคุณกำลังคิดอยากทำแบรนด์หรือทำแพตเกจจิ้งใหม่ อย่าลืมมาปรึกษา LocoPack ดูก่อนนะครับ เรารับผลิตกล่อง รับออกแบบบรรจุภัณฑ์ ช่วยให้แบรนด์ของคุณโดดเด่น มีภาพลักษณ์ที่ดี เพื่อยอดขายที่เติบโตเพิ่มมากขึ้นครับ

สนใจแพคเกจกจิ้งแบบนี้บ้าง

เริ่มเลย
แบ่งปันข้อความนี้
facebook
copylink

อ่านต่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง
3 คำถามต้องตอบได้ ก่อนเริ่มดีไซน์แพคเกจจิ้ง!
แพกเกจจิ้งออกแบบ 12 May 2020
คือเรื่องง่ายที่ใครก็รู้ แต่คำถามที่ว่า “จะออกแบบแพคเกจจิ้งแบบไหนให้ออกมาดี?” นี่สิ คือเรื่องยาก ที่คุณต้องหาคำตอบ ดังนั้นสำหรับเจ้าของแบรนด์ที่อยากดีไซน์แพคเกจจิ้งดีๆเพื่อสินค้าคุณ แต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร คุณมาถูกทางแล้วครับ สำหรับปัญหาข้อนี้ LocoPack มีทางออกให้กับคุณ เพียงลองตอบคำถาม 3 ข้อต่อไปนี้ให้ได้ เพราะถ้าตอบได้แล้วก็จะสามารถทราบได้ในทันที ว่าแนวทางเพื่อการออกแบบแพคเกจจิ้งสำหรับสินค้าของคุณควรเป็นอย่างไร 1. สินค้าของคุณคืออะไร?ก่อนอื่นเพื่อกำหนดลักษณะโดยรวมของแพคเกจจิ้ง ลองพิจารณากันก่อนครับ ว่าสินค้าของคุณเป็นสินค้าประเภทไหน ทำจากอะไร ขนาดเท่าไร ความคงทนเป็นอย่างไร เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการออกแบบแพคเกจจิ้งทั้งสิ้น ในขณะที่สินค้าเปราะบางแตกง่าย ต้องการบรรจุภัณฑ์มั่นคงแข็งแรง รองรับการกระแทกขณะขนส่ง สินค้ารูปทรงแปลกตา อาจต้องการบรรจุภัณฑ์ออกแบบพิเศษที่พิถีพิถันมากกว่าการเลือกใช้กล่องรูปทรงธรรมดา 2. ใครคือผู้ซื้อสินค้า?ผู้ชาย ผู้หญิง เด็กเล็ก หรือผู้ใหญ่ ใครคือกลุ่มเป้าหมายของสินค้าคุณ? เพราะกลุ่มคนแต่ละกลุ่ม ย่อมถูกดึงดูดด้วยรูปลักษณ์ของแพคเกจจิ้งที่แตกต่างกัน ในขณะที่แพคเกจจิ้งสำหรับกลุ่มลูกค้าผู้ใหญ่หรือสูงวัย ควรเป็นการดีไซน์แบบง่าย และมีตัวอักษรขนาดใหญ่เพื่อให้เห็นข้อความได้ชัดเจน การออกแบบแพคเกจจิ้งที่ดูเปรี้ยวเท่หรูหราก็สามารถดึงดูดกลุ่มลูกค้ามีฐานะที่ชอบความโก้หรูดูดี ดังนั้นการทราบก่อนว่าผู้ซื้อสินค้า คือกลุ่มบุคคลประเภทไหน เราก็จะสามารถกำหนดทิศทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์ได้ง่ายขึ้น3. สินค้าจะถูกจำหน่ายอย่างไร ?ลองพิจารณาสักนิด สินค้าของคุณนั้นถูกจำหน่าย ซื้อขายในช่องทางไหน เป็นการตั้งสินค้าหน้าร้าน ซื้อมาจำหน่ายไปแบบปกติ หรือผ่านการสั่งซื้อออนไลน์? เมื่อสถานที่ขายสินค้าต่าง กลยุทธ์การออกแบบผลิตภัณฑ์ก็ต่างกัน หากเป็นการวางสินค้าบนชั้นวาง มีคู่แข่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกัน สินค้าของคุณต้องการบรรจุภัณฑ์ที่โดดเด่นและแตกต่าง เพื่อดึงดูดสายตา แต่ถ้าสินค้าของคุณเน้นช่องทางการขายบนโลกออนไลน์ คุณก็ต้องมองหาการออกแบบแพคเกจจิ้งที่ให้ความสะดวก และเหมาะสมกับการขนส่งทางไกลมากกว่าภาพลักษณ์แพคเกจจิ้งที่ต้องโดดเด่นกว่าใครCredit: 99designs
“Ultra Violet” โทนสีปี 2018 จาก Pantone
ออกแบบ 11 May 2020
พอถึงสิ้นปีทีไร แวดวงการออกแบบ รวมทั้งวงการแฟชั่น ก็ได้เวลาลุ้นตัวโก่งกันทุกที ว่าปีนี้ บริษัทสีเจ้าแม่ยักษ์ใหญ่อย่าง Pantone จะเลือกสีใด เป็นโทนสีแห่งปีของปีถัดไป สำหรับปีนี้เองก็เช่นกันครับ แต่ทว่า ตอนนี้เราไม่ต้องลุ้นให้ตื่นเต้นกันอีกต่อไปแล้ว เพราะ Pantone ประกาศออกมาให้โลกรับรู้แล้วว่า สีม่วง Ultra Violet รหัส 18–383 คือสีแห่งปี 2018! ซึ่งเมื่อ Pantone ประกาศผลมาปุ๊บ LocoPack ก็ไม่อยากรอช้า ขอนำเสนอข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับเจ้าสีม่วงสุดเย้ายวนผ่านบทความนี้กันเลย ULTRA VIOLET สำหรับกราฟฟิกและแพคเกจจิ้งดีไซน์แฝงไปด้วยความซับซ้อน ดูลึกลับ แต่ให้ความรู้สึกกลมกลืน สีม่วง Ultra Violet ได้ถูกคัดเลือกให้เป็นโทนสีแห่งปีสำหรับแวดวงการออกแบบกราฟฟิกและแพคเกจจิ้ง ซึ่งผลการคัดเลือกครั้งนี้ ถือว่าสอดคล้องกับทิศทางของผลงานดีไซน์เนอร์จากทั่วโลกเป็นอย่างดี ดั่งที่ปรากฏให้เห็นในเทรนด์การออกแบบแพคเกจจิ้ง สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าเสริมความงาม รวมไปถึงผลิตภัณฑ์จากแบรนด์หรู ซึ่งนับวันจะยิ่งเน้นความซับซ้อนและมิติของการออกแบบที่มากขึ้นยิ่งกว่าเดิม ULTRA VIOLET และวงการแฟชั่นด้วยคุณสมบัติที่มีความเป็นกลางระหว่างเพศหญิงและเพศชาย ตัวเลือกอย่างสีม่วง Ultra Violet ที่ผสมผสานกันระหว่างพื้นสีของสีแดง และสีฟ้า ได้ถูกหยิบยกเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความรู้สึกเชื่อมโยงระหว่างผู้ออกแบบ ผู้ผลิตและผู้บริโภคทุกๆเพศ นอกจากนี้ความเข้ากันได้ดีกับสี และวัสดุที่หลากหลายอย่างไม่จำกัด อาทิ การใช้สีทองกับสีม่วงเพื่อให้บรรยากาศหรูหรา การใช้สีเขียวเทากับสีม่วงก็ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติ นอกจากนี้การจับคู่ผ้าหรูอย่างกำมะหยี่กับสีม่วงสำหรับชุดราตรีงานกลางคืน ก็ดูเข้ากันได้ดีไม่แพ้การเลือกใช้สีม่วงสำหรับสินค้านักกีฬา หรือรองเท้าผ้าใบ ULTRA VIOLET ในแวดวงความงาม ถือเป็นมนต์ขลังของสีม่วง Ultra Violet ที่สามารถใช้เสริม แต่งประกายเพื่อเพิ่มความงามน่าหลงใหลให้กับทุกๆคน ด้วยความนุ่มลึกแบบเป็นธรรมชาติที่เข้ากันได้ดีกับความลงตัวของการผสมสี ไล่สี สีม่วงได้ถูกคัดเลือกเพื่อเป็นตัวแทนของความงามในวงการแฟชั่นผ่านหลายกรรมวิธีการใช้ ไม่ว่าการใช้สีม่วงเดี่ยวๆ เพื่อทาเป็นลิปสติก หรือใช้เป็นสีเล็บสามารถที่สร้างเอกลักษณ์มั่นใจปนเท่ห์ ให้กับผู้เลือกใช้ หรือการใช้สีม่วงผสมกับสีเมทาลิกเพื่อใช้กับเปลือกตาให้เจ้าของดวงตาดูลึกลับ เป็นปริศนาดั่งสีของจักรวาลก็นับเป็นอีกเคล็ดลับวิธีสร้างความน่าดึงดูดที่น่าสนใจ นอกจากนี้สีม่วงยังได้ถูกเลือกใช้เป็นเฉดสีสำหรับการย้อมเส้นผมที่นับวันจะได้รับความนิยมมากขึ้นในมุมมองความงามแบบ Street StyleULTRA VIOLET เพื่อการแต่งบ้าน หากกำลังมองหาหนทางเพื่อเปลี่ยนห้องแบบเดิมๆให้เป็น ห้องที่บ่งบอกความเป็นตัวเองได้มากขึ้น การเลือกใช้สีม่วง Ultra Violet นับเป็นวิธีที่น่าสนใจที่ Pantone เสนอ ด้วยคุณสมบัติที่สามารถเข้ากันได้ดีกับสีต่างๆ เพื่อสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัว การจับคู่สีม่วงกับสีสันโทนสดใสหรือ สีสว่างสามารถช่วยฉุดความโดดเด่นของเครื่องแต่งบ้านชิ้นอื่นๆ นอกจากนี้สีม่วง ยังนับเป็นสีที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานในทุกๆห้องของบ้าน หรืออาคารได้ด้วยเช่นกัน Credit: Pantone
“ข้อมูลที่ต้องพร้อม” ก่อนเริ่มออกแบบแพคเกจจิ้ง!
แพกเกจจิ้งออกแบบ 12 May 2020
ต่อจากคราวก่อน ที่เราได้ให้แนวทางการออกแบบแพคเกจจิ้ง ผ่าน 3 คำถามสำคัญ ที่ต้องตอบได้ก่อนเริ่มออกแบบบรรจุภัณฑ์กันไปแล้ว สำหรับบทความในวันนี้ เพื่อเป็นไกด์ไลน์ให้กับเจ้าของแบรนด์ที่อยากออกแบบแพคเกจจิ้งดีๆ ที่จะช่วยเพิ่มยอดไลค์ อัพยอดขายสินค้าและบริการของคุณให้ได้ LocoPack ขอกระเถิบลงรายละเอียดเพิ่มเติมกันอีกสักหน่อยนะครับ โดยขอพูดต่อกันถึง “ข้อมูลที่คุณต้องมีพร้อม” เพื่อการสร้าง และผลิตแพคเกจจิ้งดีๆ พร้อมใช้งานที่จะออกมาตรงใจผู้ขาย และถูกใจผู้ซื้อได้อย่างแน่นอน 1. ข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์เพราะสินค้าและแพคเกจจิ้ง คือสื่อสำคัญเพื่อการโปรโมทแบรนด์ของคุณสู่สายตาของลูกค้าและผู้พบเห็น ดังนั้นการออกแบบแพคเกจจิ้งจึงต้องใส่ใจในรายละเอียดอัตลักษณ์ของแบรนด์ โดยก่อนการเริ่มออกแบบ คุณควรมีข้อมูลเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของแบรนด์ดังต่อไปนี้ครบถ้วนกันเสียก่อน สีหลัก เฉดสีที่เลือกใช้: ชื่อสี โค้ดสี ฟ้อนต์ตัวอักษร: ให้ระบุการใช้ให้ชัดเจน อาทิ ตัวหนาสำหรับหัวข้อ ตัวเล็กบางสำหรับข้อมูลทั่วไป โลโก้ของแบรนด์: จัดเตรียมประเภทไฟล์ที่เหมาะสม เพื่อการจัดพิมพ์ 2. ข้อมูลที่ต้องมีบนแพคเกจจิ้ง แต่ละประเภทสินค้า แต่ละแบรนด์ ย่อมมีข้อมูลเพื่อการปริ้นท์บนแพคเกจจิ้งแตกต่างกันไป ดังนั้นเพื่อสร้างแพคเกจจิ้งตรงใจ สามารถใช้งานได้จริง การมีข้อมูลในส่วนนี้ไว้ครบถ้วนก่อนจึงสำคัญมากนะครับ ทั้งนี้ข้อมูลที่ต้องมีเพื่อระบุบนแพคเกจจิ้ง ก็ได้แก่ ข้อความ: เช่น ชื่อสินค้า คำขวัญ คำอธิบายสั้นๆเกี่ยวกับสินค้า รูปภาพ: ไม่ว่าจะภาพพรีเซนเตอร์ ภาพส่วนประกอบ หรือภาพสินค้า ขอให้จัดเตรียมไว้ให้พร้อมก่อนเริ่มต้นการออกแบบ เครื่องหมายที่จำเป็น: อาทิ บาร์โค้ด เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายรับรองจากภาครัฐ ข้อมูลอื่นๆ: อาทิ ข้อมูลตามกฎหมาย ที่อาจต้องเปลี่ยนแปลงภายหลัง หรือยังเป็นข้อมูลที่ไม่แน่นอน (ซึ่งคุณไม่อาจจำเป็นต้องปริ้นท์ลงบนแพคเกจจิ้งโดยตรง แต่อย่าลืมเหลือเนื้อที่ สำหรับการเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ เช่นพื้นที่เพื่อแปะสติ๊กเกอร์ หรือปริ๊นท์ลงในภายหลังด้วยนะครับ) 3. แบบที่ชอบ สไตล์ที่ใช่ ขอให้รวบรวมแพคเกจจิ้งที่ชอบ เห็นทีไรถูกใจทุกทีไว้เลยนะครับ เลือกเก็บไว้หลายๆแบบ อาจใช้วิธีการถ่ายภาพ ครอปภาพมาไว้ก็ได้ นอกจากนี้ลองนึกถึงวัสดุสำหรับทำแพคเกจจิ้งของคุณด้วย เพราะข้อมูลของแบบแพคเกจจิ้งที่ชอบ จะสามารถนำมาประยุกต์รวมกัน หรือให้ไอเดียแก่ผู้ออกแบบ เพื่อสร้างเป็นแพคเกจจิ้งในฝันให้กับแบรนด์ของคุณได้นั่นเอง 4. งบประมาณ งบประมาณการผลิต และต้นทุนของแพคเกจจิ้ง คืออีกข้อสำคัญที่ต้องคำนึงถึงก่อนเริ่มลงมือออกแบบ ทั้งนี้ต้นทุน หรือเรื่องเงินๆทองๆของการผลิตแพคเกจจิ้งที่ว่า จะแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี คือ ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นเพื่อการออกแบบ ครอบคลุมถึง ค่าจ้างออกแบบ ค่าแม่พิมพ์ ซึ่งค่าใช้จ่ายในหมวดนี้ มักจ่ายกันเพียงครั้งเดียวเพื่อการใช้ที่ยาวนาน ต้นทุนต่อชิ้น ซึ่งรวมถึงค่าวัสดุและค่าแรงงานที่ใช้ต่อแพคเกจจิ้งหนึ่งชิ้น นอกจากนี้ อย่าลืมว่า งบประมาณที่ถูกกว่าใช่ว่าดีกว่าเสมอไป เพราะการใช้วัสดุคุณภาพดี การออกแบบมีคุณภาพ จะสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสินค้าให้ดูโดดเด่นกว่าแบรนด์คู่แข่งอย่างไรก็ตาม การออกแบบแพคเกจจิ้งที่ดี ให้มีภาพลักษณ์เตะตา น่าดึงดูด ที่คำนึงถึงความเหมาะสม และถูกใจทั้งฝ่ายผู้ซื้อและผู้ขายก็สามารถทำได้ในราคาประหยัด และต้นทุนที่ถูกกว่า สิ่งสำคัญอยู่ที่ความคิด ไอเดียและความเชี่ยวชาญในการออกแบบแพคเกจจิ้งนั่นเอง Credit: 99designs