วิธีการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
ปัจจุบัน เราพบว่า ปัญหาบรรจุภัณฑ์กับสิ่งแวดล้อมมีเพิ่มมากขึ้น และก่อให้เกิดการสร้างขยะที่มากขึ้น ทั้งนี้เนื่องมาจากการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกและวัสดุอื่นที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่นการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตพลาสติกและการขัดขวางกระบวนการรีไซเคิลของวัสดุบรรจุภัณฑ์
ผู้ประกอบการอย่างพวกเราสามารถร่วมมือกันในการแก้ปัญหานี้ได้ โดยนำหลักการออกแบบและเลือกบรรจุภัณฑ์ พร้อมมองหา นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน เพื่อส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยให้ที่สุดมาใช้ เพื่อลดการใช้วัตถุดิบใหม่ ลดปริมาณขยะ และ ช่วยกันลดผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมากที่สุด เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนของโลกในระยะยาวได้
หลักการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด (“Zero waste packaging hierarchy”) มี 3 หลักการ
โดยวันนี้จะขอเล่าหลักการเบื้องต้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจในภาพรวมก่อนที่จะลงลึกไปในรายละเอียด และเห็นตัวอย่างจริงในบทความต่อไป
ก่อนอื่นเราควรมาทำความรู้จักคำว่า “Zero waste packaging hierarchy” กันก่อน
“Zero waste packaging hierarchy” คือการจัดลำดับวิธีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด และลดการสร้างขยะในกระบวนการผลิตและการใช้งานสินค้าให้มากที่สุด โดยเน้นและให้ความสำคัญกับหลัก
1. การออกแบบที่ยั่งยืน (Sustainable Design): ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดตั้งแต่การผลิตจนถึงการทำลาย รวมไปถึง
2. หลักการการใช้วัตถุดิบที่สะท้อนคุณค่าอย่างยั่งยืน (Sustainable Material Choices)โดยการเลือกใช้วัตถุดิบที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
Zero waste packaging hierarchy ประกอบด้วย 3 หลักการ
โดยมีลำดับการใช้บรรจุภัณฑ์ดังนี้
1.หลักการกำจัด และ การลดการใช้บรรจุภัณฑ์ (Eliminate /Reduce)
2.หลักการนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse/Refill)
3.หลักรีไซเคิล (Recycle)
รูป1:Zero waste packaging hierarchy ( ref : A zero waste hierarchy for Europe - Zero Waste Europe)
1. หลักการกำจัดและการลดการบรรจุภัณฑ์ (Eliminate /Reduce)
1.1 หลักการการกำจัดการใช้บรรจุภัณฑ์ (Elimination): การหลีกเลี่ยงการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม เป็นตัวเลือกในการลดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีผลกระทบสูงสุด โดยใช้วิธีการผลิตหรือสินค้าที่ไม่ต้องใช้บรรจุภัณฑ์หรือสามารถใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด และยังสามารถช่วยลดภาระต้นทุนในการผลิตของผู้ประกอบการด้วย ตัวอย่างสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่ใช้หลักการกำจัด (Elimination) ที่น่าสนใจดั้งนี้ มีการออกแบบ บรรจุภัณฑ์ เพื่อกำจัดการใช้พลาสติกในการห่อผักและผลไม้ เปลี่ยนมาใช้ใบตองแทนในร้าน ริมปิงซุปเปอร์มารเกต
Ref : ไอเดียแจ่ม ณ ห้างริมปิง จ.เชียงใหม่ ใช้ใบตองห่อผักแทนพลาสติก (home.co.th)
1.2 หลักการลด (Reduce): ลดปริมาณบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ โดยลดขนาดหรือจำนวนของบรรจุภัณฑ์ที่ไม่จำเป็น ตัวอย่างสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่ใช้หลักการลด (Reduce) ที่น่าสนใจ การลดพลาสติกในขวดนำ้ดื่ม: บริษัทผู้ผลิตขวดเครื่องดื่มลดปริมาณพลาสติกในขวดถึง35% โดยใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและยังสามารถช่วยลดภาระต้นทุนในการผลิตของผู้ประกอบการด้วย
Ref: Coca-Cola unveils new-look Namthip (nationthailand.com)
2. หลักการนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) :
นำกลับมาใช้ใหม่ได้หลายครั้ง และการใช้ บรรจุภัณฑ์ที่เติมเต็ม ได้หลายครั้ง(Refillability) ตัวอย่างสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่ใช้หลักการ การนำกลับมาใช้ใหม่ ใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถเติมเต็มได้หลายครั้ง(Reuse/ Refillability) ที่น่าสนใจ
หลักการนำกลับมาใช้ใหม่(Reuse):ซอง ซิป ล็อค สกรีน,ถุง ซิป ล็อค สกรีน โลโก้ สำหรับอาหาร: ซองกระดาษที่ใช้ในการบรรจุอาหารและของกินที่สามารถนำกลับมาใช้ได้หลายครั้ง และลดการใช้ถุงพลาสติกในรูปแบบการบรรจุอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
Ref : Munchy Seeds moves to recyclable packaging (packagingnews.co.uk)
การใช้บรรจุภัณฑ์ที่เติมเต็มได้หลายครั้ง (Refillability)ที่ Refill station คือ สถานที่ที่เติมสินค้าหรือวัตถุดิบให้กับลูกค้าโดยใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถเติมใหม่ได้ ลูกค้าสามารถนำบรรจุภัณฑ์เดิม มาที่ refill station เพื่อเติมสินค้าหรือวัตถุดิบที่ต้องการเข้าไป สิ่งนี้ช่วยลดการใช้สินค้าและการสร้างขยะจากบรรจุภัณฑ์เดิมที่ใช้แล้วทิ้ง โดยมีผลกระทบที่น้อยลงต่อสิ่งแวดล้อม
3. หลักการ รีไซเคิล (Recycle):
รีไซเคิลหรือทำลายบรรจุภัณฑ์เพื่อนำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่ ตัวอย่างสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่ใช้หลักการรีไซเคิล (Recycle): รีไซเคิลหรือทำลายบรรจุภัณฑ์เพื่อนำ วัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่ ที่น่าสนใจ
Ref: มิเนเร่ ส่งขวดรักษ์โลกที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล (rPET) ... (greennetworkthailand.com)
บรรจุภัณฑ์ขวดรักษ์โลก rPET ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลรายแรกในตลาดน้ำดื่มไทย มิเนเร่ rPET ผลิตจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิล ผ่านกระบวนการแยก ย่อย หลอม จนเป็นขวดรักษ์โลก rPET ใช้พลังงานน้อยกว่าประมาณ 80% และสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 24%”
จากตัวอย่างของหลักการเบื้องต้นที่นำเสนอมา จะเห็นได้่ว่า ผู้ประกอบการอย่างพวกเรา สามารถร่วมมือกัน โดยนำหลักการออกแบบและเลือกบรรจุภัณฑ์ พร้อมมองหานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ ที่ยั่งยืน เพื่อส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยให้ที่สุด
ผู้ประกอบการสามารถติดตามบทความเจาะลึกในรายละเอียดในแต่ละหลักการ พร้อมตัวอย่างจริง ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ
ที่พวกเรา สามารถนำมาปรับใช้ได้กับบรรจุภัณฑ์ของสิ้นค้าและบริการของเราได้ในบทความต่อไป
บทความโดย
ธิตยา ถนอมวงศ์
สนใจแพคเกจกจิ้งแบบนี้บ้าง
เริ่มเลย