Zero waste packaging วิธีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ตอนที่ 2

แพกเกจจิ้งออกแบบ
29 February 2024
แบ่งปันข้อความนี้
facebook
copylink
Zero waste packaging วิธีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด  ตอนที่ 2


Zero waste packaging วิธีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด 

ตอนที่ 2 หลักการของการกำจัด และ การลดการใช้บรรจุภัณฑ์(Eliminate /Reduce) 


หลักการแรก และ เป็นหลักการที่สำคัญ ใน Zero waste packaging hierarchy คือ หลักการของการกำจัด และ การลดการใช้บรรจุภัณฑ์(Eliminate /Reduce)  โดยหลักการนี้ ต้องคำนึงถึงการออกแบบที่ยั่งยืน (Sustainable Design): ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดตั้งแต่การผลิตจนถึงการทำลาย รวมไปถึงหลักการการใช้วัตถุดิบที่สะท้อนคุณค่าอย่างยั่งยืน (Sustainable Material Choices)โดยการเลือกใช้วัตถุดิบที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยแบ่งเป็น  2 หลักการย่อย ดังต่อไปนี้


1.1 หลักการการกำจัดการใช้บรรจุภัณฑ์ (Elimination): การหลีกเลี่ยงการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม การหลีกเลี่ยงการสร้างขยะและการใช้ทรัพยากรที่ไม่จำเป็นอย่างมากที่สุดในกระบวนการผลิตและการใช้งานสินค้า 


เป็นตัวเลือกในการลดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีผลกระทบสูงสุด โดยใช้วิธีการผลิตหรือสินค้าที่ไม่ต้องใช้บรรจุภัณฑ์หรือสามารถใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด โดยมุ่งเน้นไปที่ความยั่งยืนและการปรับเปลี่ยนวัตถุดิบหรือกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างสูงสุด และยังสามารถช่วยลดภาระต้นทุนในการผลิตของผู้ประกอบการด้วย 


ตัวอย่างสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่ใช้หลักการกำจัด (Elimination) ที่น่าสนใจดั้งนี้

1.1.1   Ooho Water Capsules: Ooho คือบรรจุภัณฑ์น้ำที่มีลักษณะเป็นแคปซูลละลายในปากเมื่อคุณรับประทาน คุณสามารถดื่มน้ำและทานบรรจุภัณฑ์ได้พร้อมกัน นี่เป็นวิธีการลดการใช้ขวดพลาสติกในสินค้าน้ำดื่ม.




1.1.1 Sauce Sachets: บรรจุภัณฑ์ซอสที่ทำจาก Notpla วัสดุที่มีความยืดหยุ่นและย่อยสลายที่มาจากวัสดุธรรมชาติ สามารถใช้เพื่อเก็บและใช้ซอสได้โดยไม่ต้องใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก หลังจากใช้งานเสร็จสิ้นแล้ว สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ.


นี่คือ2ตัวอย่างของสินค้าที่พัฒนาโดย Notpla: Notpla เป็นบริษัทที่พัฒนาวัสดุที่มีความยืดหยุ่นและย่อยสลายที่มาจากวัสดุธรรมชาติ เพื่อใช้เป็นแทนพลาสติกและบรรจุภัณฑ์เดิม

Ref : Notpla Ooho - Notpla:


1.1.2 การกำจัดการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก ในผลิตภัณฑ์นวัตกรรมยาสีฟัน (CHEWW) แบบเม็ดของคนไทย ที่ได้ออกแบบมาเพื่อแทนยาสีฟันแบบครีม ที่ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์หลอดและฝาพลาสติก  เป็นการหลีกเลี่ยงการสร้างขยะพลาสติก

โดยใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด อย่างขวดแก้วและฝาอลูมิเนียม แทนการใช้จากบรรจุภัณฑ์หลอดและฝาพลาสติก บรรจุภัณฑ์ขวดแก้วนี้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse)  ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมากที่สุด  


Ref Cheww.co Toothpaste tablets that want to reduce waste of 10,000 toothpaste tubes in the first year – A Day




1.1.3  มีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อกำจัดการใช้พลาสติก ในผลิตภัณฑ์นวัตกรรมแชมพูบาร์ ของ Package Free ,HiBAR และ LUSH

แชมพูบาร์ เป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่ยอดเยี่ยม ออกแบบมาเพื่อแทนผลิตภัณฑ์แชมพูน้ำที่ใช้พลังงานและน้ำรวมทั้งต้องใช้การบรรจุในบรรจุภัณฑ์ทั้งขวดและฝาพลาสติก (ดูตัวอย่าง ตามรูป แนบ)

โดยใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด  โดยตอนซื้อที่ร้านค้าสามารถบรรจุลงในกล่องกระดาษหรือถุงกระดาษ100%recycle แทนการใช้ขวดพลาสติก ช่วยกันลดผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมากที่สุด เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนของโลกในระยะยาวได้ แชมพูบาร์ ที่ออกแบบมาของLUSH,HiBAR และPackage Free ไม่มีสารกันเสียเทียมสังเคราะห์ใด ๆ และนอกจากนี้ยังเป็นเพื่อนเดินทางที่ดีอีกด้วย ไม่จำเป็นต้องถ่ายโอนแชมพูไปใส่ขวดเล็ก ๆ และไม่มีความยุ่งยากที่สนามบินด้วยสามารถ บรรจุลงในตลับaluminuimsหรือกล่องกล่องกระดาษหรือถุงกระดาษ นำกลับมาใช้ใหม่ ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับผู้ประกอบการไทยที่มีการออกการออกแบบที่ยั่งยืน (Sustainable Design)โดย ออกแบบใหม่ทั้งผลิตภัณฑ์นวัตกรรมและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด




Ref :Packaging free cosmetics | LUSH,About Us (packagefreeshop.com),Why you should be excited about waterless hair care. – HiBAR (hellohibar.com)


1.2 หลักการลด (Reduce): ลดปริมาณบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ โดยลดขนาดหรือจำนวนของบรรจุภัณฑ์ที่ไม่จำเป็น เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและยังสามารถช่วยลดภาระต้นทุนในการผลิตของผู้ประกอบการด้วย

ตัวอย่างสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่ใช้หลักการลด (Reduce) ที่น่าสนใจ 

1.2.1 การยกเลิกการใช้ถาดพลาสติก ของขนมทะเลสาหร่ายออร์แกนิค Clearspring  สำหรับตลาดเนเธอร์แลนด์ 

Clearspring เป็นผู้จัดจำหน่ายอาหารญี่ปุ่นและยุโรปชั้นพรีเมียมในลอนดอน ได้ลดปริมาณของส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์ โดยไม่ต้องใช้ถาดพลาสติก สำหรับ Organic Seaveg Crispies Black Pepper 

แพ็คเกจใหม่จะไม่มีถาดพลาสติกและทำให้ลดการใช้พลาสติกได้  ช่วยลดภาระต้นทุนในการผลิตของผู้ประกอบการ

ref: ThePackHub sustainable packaging compendium 2020 page 19




1.2.2 การยกเลิกการใช้ภาชนะกระป๋องพลาสติก โดยเปลี่ยนแปลงไปเป็นภาชนะถุงซิป ซอง ซิป ล็อค สกรีน,ถุง ซิป ล็อค สกรีน โลโก้  สำหรับอาหารของสินค้า  Munchy Seeds สินค้ารวมเมล็ดธัญพืชจาก Munchy Seeds ได้ตัดสินใจทำการออกแบบบรรจุบรรจุภัณฑ์แบบที่ยั่งยืน (Sustainable Design): โดยออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดตั้งแต่การผลิตจนถึงการทำลาย รวมไปถึงหลักการการใช้วัตถุดิบที่สะท้อนคุณค่าอย่างยั่งยืน โดย เปลี่ยนแปลง ทั้งรูปแบบภาชนะ วัตถุดิบบรรจุภัณฑ์ รวมทั้ง การออกแบบกราฟิคใหม่

- เปลี่ยนแปลงจาก ภาชนะพลาสติกแข็งกระป๋องพลาสติก เป็นภาชนะถุงซิปซอง ซิป ล็อค สกรีน,ถุง ซิป ล็อค สกรีน โลโก้   สามารถลดต้นทุนและลดปริมาณพลาสติกที่ใช้ลงไป มากกว่า 60%

Ref:Munchy Seeds rebranding ditches plastic pots in favour of resealable pouches (bakeryandsnacks.com) 

1.2.3  การลดการใช้พลาสติก ในผลิตภัณฑ์นวัตกรรม ซูเปอร์คอนเซนเทรทนำ้ยาทำความสะอาด รีฟิล ของ Cif ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมนี้เป็นการออกแบบทั้งผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่ใช้วัสดุทางเลือกที่ยั่งยืนในหลายด้านดั้งต่อไปนี้

1 ผลิตภัณฑ์ซูเปอร์คอนเซนเทรทนำ้ยาทำความสะอาด รีฟิล ของ Cif  ยังคงมีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดอย่างเดิม โดยการผสมผลิตภัณฑ์ใช้เองในบ้านนั้น ช่วยลดการใช้น้ำในผลิตภัณฑ์ปกติที่ใส่ในขวดสเปรย์พลาสติกPET ขนาดใหญ่ ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งลงถึง 97% และส่งผลให้มีรถบรรทุกน้อยลงบนท้องถนนและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง โดยเราสามารถใช้ขวดสเปรย์พลาสติกPET ซำ้ได้อีกหลายหลายครั้ง เป็นการช่วยลดปริมาณของขยะของขวดที่ใช้แล้วทิ้ง(ดูรายละเอียดและตัวอย่างได้ในตอนต่อไป)

2. บรรจุภัณฑ์รีฟิล ของ Cif  ขวดพลาสติก มีน้ำหนักเบา ผลิตจากพลาสติก PET น้อยลงถึง 75%เมื่อเทียบกับขวดเก่าขนาดใหญ่  และสามารถรีไซเคิล 100% เมื่อถอดฉลากพลาสติกออกได้

 Ref: Smart Cif refill packaging supports Unilever plastic reduction goals (wppg.com)




1.2.4. Tide Eco-Box การลดพลาสติกในผลิตภัณฑ์นวัตกรรม Tide 

ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมนี้เป็นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ทางเลือกที่ยั่งยืน โดยเปลี่ยนจากขวดพลาสติกขนาดใหญ่ มาเป็นบรรจุภัณฑ์ Eco-Box ที่มีการนำกระดาษมาทำเป็นกล่องกระดาษและยังคงมีการใช้พลาสติกในส่วนของถุงที่บรรจุน้ำยาซักผ้าเอง 

แต่มีการใช้พลาสติกจำนวนน้อยลงถึง 60 % เมื่อเปรียบเทียบกับบรรจุภัณฑ์แบบดั้งเดิมที่เป็นขวดพลาสติกขนาดใหญ่ทีมีนำ้หนักมาก  ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งลง และส่งผลให้มีรถบรรทุกน้อยลงบนท้องถนนและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง  

Ref:Two ways P&G is working toward its packaging goals | Greenbiz




จากตัวอย่างทั้งหมดของหลักการของการกำจัด และ การลดการใช้บรรจุภัณฑ์(Eliminate /Reduce)  ที่นำเสนอมาน่าจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการทั้งเก่าและใหม่  ผู้ประกอบการอย่างพวกเราสามารถที่จะนำหลักการออกแบบที่ยั่งยืน (Sustainable Design): ทั้งผลิตภัณฑ์และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดตั้งแต่การผลิตจนถึงการทำลาย รวมไปถึงหลักการการใช้วัตถุดิบที่สะท้อนคุณค่าอย่างยั่งยืน (Sustainable Material Choices) พร้อมมองหานวัตกรรมใหม่ ทั้งผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน สามารถนำมาปรับใช้ได้ในการออกแบบ ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของท่านได้  เพื่อส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยให้ที่สุด และยังสามารถช่วยลดภาระต้นทุนในการผลิตของผู้ประกอบการด้วย หากสนใจทำบรรจุภัณฑ์และสร้างความแตกต่างให้สินค้าสามารถติดต่อปรึกษาได้ที่ www.LocoPack.co หรือ linet:@locopack เพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์เพิ่มเติมได้ 


ท่านสามารถติดตามบทความเจาะลึกในรายละเอียดของหลักการนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse/Refill): นำกลับมาใช้ใหม่ได้หลายครั้ง บรรจุภัณฑ์ที่เติมเต็มได้ พร้อมตัวอย่างจริง ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ที่ผู้ประกอบการอย่างพวกเราสามารถนำมาปรับใช้ได้กับบรรจุภัณฑ์ของสิ้นค้าและบริการของเราได้ในบทความต่อไป

บทความโดย

ธิตยา ถนอมวงศ์ 15 สค 2566

dhitayathanomwong@gmail.com

dhitayathanomwong

dhitayathanomwong


สนใจแพคเกจกจิ้งแบบนี้บ้าง

เริ่มเลย
แบ่งปันข้อความนี้
facebook
copylink

อ่านต่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง
3 คำถามต้องตอบได้ ก่อนเริ่มดีไซน์แพคเกจจิ้ง!
แพกเกจจิ้งออกแบบ 12 May 2020
คือเรื่องง่ายที่ใครก็รู้ แต่คำถามที่ว่า “จะออกแบบแพคเกจจิ้งแบบไหนให้ออกมาดี?” นี่สิ คือเรื่องยาก ที่คุณต้องหาคำตอบ ดังนั้นสำหรับเจ้าของแบรนด์ที่อยากดีไซน์แพคเกจจิ้งดีๆเพื่อสินค้าคุณ แต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร คุณมาถูกทางแล้วครับ สำหรับปัญหาข้อนี้ LocoPack มีทางออกให้กับคุณ เพียงลองตอบคำถาม 3 ข้อต่อไปนี้ให้ได้ เพราะถ้าตอบได้แล้วก็จะสามารถทราบได้ในทันที ว่าแนวทางเพื่อการออกแบบแพคเกจจิ้งสำหรับสินค้าของคุณควรเป็นอย่างไร 1. สินค้าของคุณคืออะไร?ก่อนอื่นเพื่อกำหนดลักษณะโดยรวมของแพคเกจจิ้ง ลองพิจารณากันก่อนครับ ว่าสินค้าของคุณเป็นสินค้าประเภทไหน ทำจากอะไร ขนาดเท่าไร ความคงทนเป็นอย่างไร เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการออกแบบแพคเกจจิ้งทั้งสิ้น ในขณะที่สินค้าเปราะบางแตกง่าย ต้องการบรรจุภัณฑ์มั่นคงแข็งแรง รองรับการกระแทกขณะขนส่ง สินค้ารูปทรงแปลกตา อาจต้องการบรรจุภัณฑ์ออกแบบพิเศษที่พิถีพิถันมากกว่าการเลือกใช้กล่องรูปทรงธรรมดา 2. ใครคือผู้ซื้อสินค้า?ผู้ชาย ผู้หญิง เด็กเล็ก หรือผู้ใหญ่ ใครคือกลุ่มเป้าหมายของสินค้าคุณ? เพราะกลุ่มคนแต่ละกลุ่ม ย่อมถูกดึงดูดด้วยรูปลักษณ์ของแพคเกจจิ้งที่แตกต่างกัน ในขณะที่แพคเกจจิ้งสำหรับกลุ่มลูกค้าผู้ใหญ่หรือสูงวัย ควรเป็นการดีไซน์แบบง่าย และมีตัวอักษรขนาดใหญ่เพื่อให้เห็นข้อความได้ชัดเจน การออกแบบแพคเกจจิ้งที่ดูเปรี้ยวเท่หรูหราก็สามารถดึงดูดกลุ่มลูกค้ามีฐานะที่ชอบความโก้หรูดูดี ดังนั้นการทราบก่อนว่าผู้ซื้อสินค้า คือกลุ่มบุคคลประเภทไหน เราก็จะสามารถกำหนดทิศทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์ได้ง่ายขึ้น3. สินค้าจะถูกจำหน่ายอย่างไร ?ลองพิจารณาสักนิด สินค้าของคุณนั้นถูกจำหน่าย ซื้อขายในช่องทางไหน เป็นการตั้งสินค้าหน้าร้าน ซื้อมาจำหน่ายไปแบบปกติ หรือผ่านการสั่งซื้อออนไลน์? เมื่อสถานที่ขายสินค้าต่าง กลยุทธ์การออกแบบผลิตภัณฑ์ก็ต่างกัน หากเป็นการวางสินค้าบนชั้นวาง มีคู่แข่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกัน สินค้าของคุณต้องการบรรจุภัณฑ์ที่โดดเด่นและแตกต่าง เพื่อดึงดูดสายตา แต่ถ้าสินค้าของคุณเน้นช่องทางการขายบนโลกออนไลน์ คุณก็ต้องมองหาการออกแบบแพคเกจจิ้งที่ให้ความสะดวก และเหมาะสมกับการขนส่งทางไกลมากกว่าภาพลักษณ์แพคเกจจิ้งที่ต้องโดดเด่นกว่าใครCredit: 99designs
“Ultra Violet” โทนสีปี 2018 จาก Pantone
ออกแบบ 11 May 2020
พอถึงสิ้นปีทีไร แวดวงการออกแบบ รวมทั้งวงการแฟชั่น ก็ได้เวลาลุ้นตัวโก่งกันทุกที ว่าปีนี้ บริษัทสีเจ้าแม่ยักษ์ใหญ่อย่าง Pantone จะเลือกสีใด เป็นโทนสีแห่งปีของปีถัดไป สำหรับปีนี้เองก็เช่นกันครับ แต่ทว่า ตอนนี้เราไม่ต้องลุ้นให้ตื่นเต้นกันอีกต่อไปแล้ว เพราะ Pantone ประกาศออกมาให้โลกรับรู้แล้วว่า สีม่วง Ultra Violet รหัส 18–383 คือสีแห่งปี 2018! ซึ่งเมื่อ Pantone ประกาศผลมาปุ๊บ LocoPack ก็ไม่อยากรอช้า ขอนำเสนอข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับเจ้าสีม่วงสุดเย้ายวนผ่านบทความนี้กันเลย ULTRA VIOLET สำหรับกราฟฟิกและแพคเกจจิ้งดีไซน์แฝงไปด้วยความซับซ้อน ดูลึกลับ แต่ให้ความรู้สึกกลมกลืน สีม่วง Ultra Violet ได้ถูกคัดเลือกให้เป็นโทนสีแห่งปีสำหรับแวดวงการออกแบบกราฟฟิกและแพคเกจจิ้ง ซึ่งผลการคัดเลือกครั้งนี้ ถือว่าสอดคล้องกับทิศทางของผลงานดีไซน์เนอร์จากทั่วโลกเป็นอย่างดี ดั่งที่ปรากฏให้เห็นในเทรนด์การออกแบบแพคเกจจิ้ง สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าเสริมความงาม รวมไปถึงผลิตภัณฑ์จากแบรนด์หรู ซึ่งนับวันจะยิ่งเน้นความซับซ้อนและมิติของการออกแบบที่มากขึ้นยิ่งกว่าเดิม ULTRA VIOLET และวงการแฟชั่นด้วยคุณสมบัติที่มีความเป็นกลางระหว่างเพศหญิงและเพศชาย ตัวเลือกอย่างสีม่วง Ultra Violet ที่ผสมผสานกันระหว่างพื้นสีของสีแดง และสีฟ้า ได้ถูกหยิบยกเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความรู้สึกเชื่อมโยงระหว่างผู้ออกแบบ ผู้ผลิตและผู้บริโภคทุกๆเพศ นอกจากนี้ความเข้ากันได้ดีกับสี และวัสดุที่หลากหลายอย่างไม่จำกัด อาทิ การใช้สีทองกับสีม่วงเพื่อให้บรรยากาศหรูหรา การใช้สีเขียวเทากับสีม่วงก็ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติ นอกจากนี้การจับคู่ผ้าหรูอย่างกำมะหยี่กับสีม่วงสำหรับชุดราตรีงานกลางคืน ก็ดูเข้ากันได้ดีไม่แพ้การเลือกใช้สีม่วงสำหรับสินค้านักกีฬา หรือรองเท้าผ้าใบ ULTRA VIOLET ในแวดวงความงาม ถือเป็นมนต์ขลังของสีม่วง Ultra Violet ที่สามารถใช้เสริม แต่งประกายเพื่อเพิ่มความงามน่าหลงใหลให้กับทุกๆคน ด้วยความนุ่มลึกแบบเป็นธรรมชาติที่เข้ากันได้ดีกับความลงตัวของการผสมสี ไล่สี สีม่วงได้ถูกคัดเลือกเพื่อเป็นตัวแทนของความงามในวงการแฟชั่นผ่านหลายกรรมวิธีการใช้ ไม่ว่าการใช้สีม่วงเดี่ยวๆ เพื่อทาเป็นลิปสติก หรือใช้เป็นสีเล็บสามารถที่สร้างเอกลักษณ์มั่นใจปนเท่ห์ ให้กับผู้เลือกใช้ หรือการใช้สีม่วงผสมกับสีเมทาลิกเพื่อใช้กับเปลือกตาให้เจ้าของดวงตาดูลึกลับ เป็นปริศนาดั่งสีของจักรวาลก็นับเป็นอีกเคล็ดลับวิธีสร้างความน่าดึงดูดที่น่าสนใจ นอกจากนี้สีม่วงยังได้ถูกเลือกใช้เป็นเฉดสีสำหรับการย้อมเส้นผมที่นับวันจะได้รับความนิยมมากขึ้นในมุมมองความงามแบบ Street StyleULTRA VIOLET เพื่อการแต่งบ้าน หากกำลังมองหาหนทางเพื่อเปลี่ยนห้องแบบเดิมๆให้เป็น ห้องที่บ่งบอกความเป็นตัวเองได้มากขึ้น การเลือกใช้สีม่วง Ultra Violet นับเป็นวิธีที่น่าสนใจที่ Pantone เสนอ ด้วยคุณสมบัติที่สามารถเข้ากันได้ดีกับสีต่างๆ เพื่อสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัว การจับคู่สีม่วงกับสีสันโทนสดใสหรือ สีสว่างสามารถช่วยฉุดความโดดเด่นของเครื่องแต่งบ้านชิ้นอื่นๆ นอกจากนี้สีม่วง ยังนับเป็นสีที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานในทุกๆห้องของบ้าน หรืออาคารได้ด้วยเช่นกัน Credit: Pantone
“ข้อมูลที่ต้องพร้อม” ก่อนเริ่มออกแบบแพคเกจจิ้ง!
แพกเกจจิ้งออกแบบ 12 May 2020
ต่อจากคราวก่อน ที่เราได้ให้แนวทางการออกแบบแพคเกจจิ้ง ผ่าน 3 คำถามสำคัญ ที่ต้องตอบได้ก่อนเริ่มออกแบบบรรจุภัณฑ์กันไปแล้ว สำหรับบทความในวันนี้ เพื่อเป็นไกด์ไลน์ให้กับเจ้าของแบรนด์ที่อยากออกแบบแพคเกจจิ้งดีๆ ที่จะช่วยเพิ่มยอดไลค์ อัพยอดขายสินค้าและบริการของคุณให้ได้ LocoPack ขอกระเถิบลงรายละเอียดเพิ่มเติมกันอีกสักหน่อยนะครับ โดยขอพูดต่อกันถึง “ข้อมูลที่คุณต้องมีพร้อม” เพื่อการสร้าง และผลิตแพคเกจจิ้งดีๆ พร้อมใช้งานที่จะออกมาตรงใจผู้ขาย และถูกใจผู้ซื้อได้อย่างแน่นอน 1. ข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์เพราะสินค้าและแพคเกจจิ้ง คือสื่อสำคัญเพื่อการโปรโมทแบรนด์ของคุณสู่สายตาของลูกค้าและผู้พบเห็น ดังนั้นการออกแบบแพคเกจจิ้งจึงต้องใส่ใจในรายละเอียดอัตลักษณ์ของแบรนด์ โดยก่อนการเริ่มออกแบบ คุณควรมีข้อมูลเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของแบรนด์ดังต่อไปนี้ครบถ้วนกันเสียก่อน สีหลัก เฉดสีที่เลือกใช้: ชื่อสี โค้ดสี ฟ้อนต์ตัวอักษร: ให้ระบุการใช้ให้ชัดเจน อาทิ ตัวหนาสำหรับหัวข้อ ตัวเล็กบางสำหรับข้อมูลทั่วไป โลโก้ของแบรนด์: จัดเตรียมประเภทไฟล์ที่เหมาะสม เพื่อการจัดพิมพ์ 2. ข้อมูลที่ต้องมีบนแพคเกจจิ้ง แต่ละประเภทสินค้า แต่ละแบรนด์ ย่อมมีข้อมูลเพื่อการปริ้นท์บนแพคเกจจิ้งแตกต่างกันไป ดังนั้นเพื่อสร้างแพคเกจจิ้งตรงใจ สามารถใช้งานได้จริง การมีข้อมูลในส่วนนี้ไว้ครบถ้วนก่อนจึงสำคัญมากนะครับ ทั้งนี้ข้อมูลที่ต้องมีเพื่อระบุบนแพคเกจจิ้ง ก็ได้แก่ ข้อความ: เช่น ชื่อสินค้า คำขวัญ คำอธิบายสั้นๆเกี่ยวกับสินค้า รูปภาพ: ไม่ว่าจะภาพพรีเซนเตอร์ ภาพส่วนประกอบ หรือภาพสินค้า ขอให้จัดเตรียมไว้ให้พร้อมก่อนเริ่มต้นการออกแบบ เครื่องหมายที่จำเป็น: อาทิ บาร์โค้ด เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายรับรองจากภาครัฐ ข้อมูลอื่นๆ: อาทิ ข้อมูลตามกฎหมาย ที่อาจต้องเปลี่ยนแปลงภายหลัง หรือยังเป็นข้อมูลที่ไม่แน่นอน (ซึ่งคุณไม่อาจจำเป็นต้องปริ้นท์ลงบนแพคเกจจิ้งโดยตรง แต่อย่าลืมเหลือเนื้อที่ สำหรับการเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ เช่นพื้นที่เพื่อแปะสติ๊กเกอร์ หรือปริ๊นท์ลงในภายหลังด้วยนะครับ) 3. แบบที่ชอบ สไตล์ที่ใช่ ขอให้รวบรวมแพคเกจจิ้งที่ชอบ เห็นทีไรถูกใจทุกทีไว้เลยนะครับ เลือกเก็บไว้หลายๆแบบ อาจใช้วิธีการถ่ายภาพ ครอปภาพมาไว้ก็ได้ นอกจากนี้ลองนึกถึงวัสดุสำหรับทำแพคเกจจิ้งของคุณด้วย เพราะข้อมูลของแบบแพคเกจจิ้งที่ชอบ จะสามารถนำมาประยุกต์รวมกัน หรือให้ไอเดียแก่ผู้ออกแบบ เพื่อสร้างเป็นแพคเกจจิ้งในฝันให้กับแบรนด์ของคุณได้นั่นเอง 4. งบประมาณ งบประมาณการผลิต และต้นทุนของแพคเกจจิ้ง คืออีกข้อสำคัญที่ต้องคำนึงถึงก่อนเริ่มลงมือออกแบบ ทั้งนี้ต้นทุน หรือเรื่องเงินๆทองๆของการผลิตแพคเกจจิ้งที่ว่า จะแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี คือ ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นเพื่อการออกแบบ ครอบคลุมถึง ค่าจ้างออกแบบ ค่าแม่พิมพ์ ซึ่งค่าใช้จ่ายในหมวดนี้ มักจ่ายกันเพียงครั้งเดียวเพื่อการใช้ที่ยาวนาน ต้นทุนต่อชิ้น ซึ่งรวมถึงค่าวัสดุและค่าแรงงานที่ใช้ต่อแพคเกจจิ้งหนึ่งชิ้น นอกจากนี้ อย่าลืมว่า งบประมาณที่ถูกกว่าใช่ว่าดีกว่าเสมอไป เพราะการใช้วัสดุคุณภาพดี การออกแบบมีคุณภาพ จะสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสินค้าให้ดูโดดเด่นกว่าแบรนด์คู่แข่งอย่างไรก็ตาม การออกแบบแพคเกจจิ้งที่ดี ให้มีภาพลักษณ์เตะตา น่าดึงดูด ที่คำนึงถึงความเหมาะสม และถูกใจทั้งฝ่ายผู้ซื้อและผู้ขายก็สามารถทำได้ในราคาประหยัด และต้นทุนที่ถูกกว่า สิ่งสำคัญอยู่ที่ความคิด ไอเดียและความเชี่ยวชาญในการออกแบบแพคเกจจิ้งนั่นเอง Credit: 99designs